หลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า เอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นเคมีแห่งความสุข ทำให้ร่างกายสดชื่น คลายความเครียด ซึ่งนับว่าเป็นเคมีที่คู่ควรต่อสมองเราเป็นอย่างมาก
แต่มีขาวก็ต้องมีดำเสมอ เคมีที่ทำงานตรงข้ามกับเอ็นโดรฟินก็มีเหมือนกัน ซึ่งเมื่อหลั่งออกมาแล้วก็ส่งผลแย่ต่อร่างกายไม่น้อยเช่นเดียวกัน เคมีตัวนี้ชื่อว่า คอร์ติซอล
คอร์ติซอล (Cortisol) เคมีแห่งปัญหา
หลั่งออกมาเมื่อร่างกายเราประสบกับภาวะตึงเครียด เช่น ได้รับความกดดันต่างๆ หรือเจอกับสถานการณ์ยากๆ หรือแม้แต่ผิดหวังอย่างแรง ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา
โดยการทำงานของคอร์ติซอลก็คือ จะเข้าไปปรับระดับภูมิคุ้มกันร่างกาย ควบคุมอินซูลินในเลือด รักษาระดับและการใช้พลังงานจากกลูโคสในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต เพื่อเตรียมรับมือกับความกดดัน
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า เมื่ออยู่ในสภาวะกดดัน เครียด เรามักจะโกรธ หรือ ฉุนเฉียวได้ง่าย และร่างกายจะตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างรุนแรงขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องปล่อยคอร์ติซอลเพื่อรับมือกับความกดดัน แต่เมื่อผ่านไปสักพักฮอร์โมนตัวนี้จะลดลง และเราก็เริ่มจะมีสติรับรู้ในสิ่งที่ทำลงไป
นอกจากนี้ คอร์ติซอลยังมีส่วนทำให้น้ำหนักขึ้น น้ำตาลและไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ระบบต่างๆภายในร่างกายทำงานแปรปรวน
แล้วเราจะสามารถรับมือกับเจ้าฮอร์โมนตัวนี้ได้อย่างไร?
งานวิจัยของ รศ.น.พ.ประสงค์ ศิริวิริยะกุล เรื่องความรู้ทางสรีรวิทยา เกี่ยวกับ ต่อมหมวกไตได้ช่วยอธิบายเรื่องนี้เอาไว้ว่า
วิธีฝึกฝนให้ร่างกายไม่พยายามปล่อยคอร์ติซอลออกมา คือ ต้องให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมนฝั่งตรงข้าม นั่นคือ เอ็นโดรฟิน หรือ ฮอร์โมนแห่งความสุข เพื่อลดการเกิดสารแห่งความเครียดที่มาจากคอร์ติซอลนั่นเอง
วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้สมองหลั่งคอร์ติซอลออกมา คุณสามารถทำได้
#อย่าจมกับปัญหา
ไม่ว่าเราจะพบเจอปัญหาอะไรก็ตามในชีวิต เราสามารถเอาตัวเองเข้าไปแก้ปัญหา แต่อย่าให้ปัญหามาครอบงำความคิดเรา ซึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมีสติ เพราะสติจะช่วยให้เราไม่จมกับปัญหา และลดการหลั่งของคอร์ติซอลได้
#สร้างความสุขให้กับตัวเอง
การพยายามสร้างความสุขให้กับตัวเอง เพื่อให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟิน หรือ ฮอร์โมนแห่งความสุขออกมา เมื่อเราเจอกับเรื่องแย่ๆ มนุษย์เราก็มักปล่อยอารมณ์ไปกับสถานการณ์ที่เจอโดยไม่ยอมควบคุมมัน ฉะนั้นให้ลองปรับวิธีคิดดูใหม่ หาข้อดีจากปัญหาที่เจอ เพื่อลดความกดดันและความเครียดลง จึงจะส่งผลให้คอร์ติซอลลดลงได้
ที่มาข้อมูล : https://www.honestdocs.co/cortisol-of-stress-hormones
จากงานวิจัยของ รศ.น.พ.ประสงค์ ศิริวิริยะกุล เรื่องความรู้ทางสรีรวิทยา เกี่ยวกับ ต่อมหมวกไต ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย