รู้ๆกันอยู่ว่า You Are What You Eat
เมื่อการตามใจปากและน้ำหนักเพิ่ม เป็นแพ็กเกจพฤติกรรมที่รู้ๆกันอยู่ แต่มันแสนสุดจะหักห้ามใจ
คงเป็นเพราะ IG ที่มีแต่คนโพสท์ของกินเต็มไปหมด
หรือไม่ก็แท็กจากเพื่อนตัวดี ที่ส่งมายั่วด้วยรีวิวเน้นๆ แน่เลย
เลิกหลอกตัวเองกันเถอะ!! ไม่ใช่ทั้งนั้น แต่มันเกิดจาก “สมอง” ก้อนน้อยๆ ของเราทุกคนนี่ล่ะที่แอบสั่งการอยู่เบื้องหลัง
สมองเรา ล้ำกว่าที่คุณคิดนะ!!
พัฒนาการสมองของเรามีน้อยมาก หากเทียบกับอวัยวะส่วนอื่นในร่างกาย เพราะสมองจะสั่งการให้ร่างกายเราเสาะแสวงหาอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เนื่องจาก ยุคดึกดำบรรพ์ อาหารเหล่านี้คือสิ่งจำเป็นและแสนจะหายาก ไม่ใช่เดินออกไปปากซอย หรือหยิบมือถือกดสั่ง Grab ทุกอย่างก็มาอยู่ตรงหน้าแล้วแบบยุคนี้
ในยุคนั้น สมองจึงสั่งให้ร่างกายกินให้มากที่สุด เพื่อมีพลังงานดำรงชีวิตในวันต่อไป
สมองสั่งให้เราหยุดกินได้ เมื่อเราอิ่ม
ฮอร์โมนเลปทีน (Leptin) คือ ฮอร์โมนควบคุมความหิวและระดับไขมันในร่างกายเรา มีหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังสมองส่วนไฮโปทาลามัส เพื่อให้รู้ว่าร่างกายเรามีไขมัน (พลังงานสำรอง) พอแล้ว หยุดกินเถอะ
ฟังดูเข้าท่า...งั้นเราก็ไม่น่าอ้วนนะ!!
ที่เรายังอ้วนและไม่มีทีท่าจะหยุดกินของอร่อยได้ เพราะสมองของคนที่น้ำหนักตัวเกิน กลับมีฮอร์โมนเลปทีนมากกว่าคนทั่วไปน่ะสิ!!!
เพราะสมองของเรานั้น สามารถเกิดอาการ ‘ดื้อ’ ต่อฮอร์โมนเลปทีนได้นั่นเอง
จากการตรวจสอบคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนผิดปกติ พบว่า พวกเขาเหล่านั้นมีฮอร์โมนเลปทีนมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งการมีฮอร์โมนเลปทีนที่มากไป ก็ไม่ได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันให้ผิดปกติแต่อย่างใด เราจึงประคองไขมันในร่างการให้ใช้ชีวิตได้ โดยไม่รู้สึกว่ามีความผิดปกติยังไงล่ะ!
เมื่อฮอร์โมนตัวหนึ่งสั่งให้อิ่ม อีกตัวสั่งให้หิว
นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามหาทางออกจนพบว่า ในสมองของเรามีฮอร์โมนอีกหนึ่งตัวที่ทำงานตรงข้ามกับเลปทีน ชื่อว่า เกรลิน (Ghrelin) ทำหน้าที่สั่งให้สมองหิว เมื่อหิวเราจึงกิน
ดังนั้น หากเราสามารถทำการสกัดไม่ให้ฮอร์โมนเกรลิน ออกฤทธิ์ต่อสมองได้ เราก็จะไม่หิวบ่อยๆ นั่นเอง
แล้วต้องทำอย่างไร ให้สมองสั่งการไม่เพี้ยน?
ถึงสมองเราจะดื้อ แต่ก็สามารถปรับตัวให้ทำงานเป็นระบบได้นะ
ทางเลือกที่เหมาะสมคือ เมื่อเจออาหารที่น่าทาน เราก็อนุญาตให้ตัวเองทานได้ในปริมาณพอดี เมื่ออิ่มก็ควรพอ (เลือกอาหารที่ทานด้วยก็จะดีมาก) หรือหากเราอยากทานอีก ให้ใช้การแบ่งทาน หรือกินเป็นครั้งๆ ไป เพราะ “การปล่อยให้ตัวเองท้องว่าง หิว หรืออดอาหาร รวมทั้งกินอาหารไม่ตรงเวลา เป็นเรื่องอันตรายต่อสมอง” เพราะสมองจะเสียสมดุลในการประมวลผล จนสั่งการผิดพลาด นำมาซึ่งการกินอย่างบ้าคลั่งและหยุดได้ยากนั่นเอง
นอกจากนี้ การออกกำลังกายวันละนิด แต่ทำให้ได้ทุกวัน จะช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกาย ฮอร์โมนและสมอง ทำงานอย่างสมดุลย์ยิ่งขึ้นไปด้วย