รู้ก่อนสาย….โรคซึมเศร้าในเด็กประถม
โรคซึมเศร้า ไม่ใช่เกิดแค่เพียงในผู้ใหญ่เท่านั้น แต่สามารถเกิดได้กับเด็กประถม ซึ่งคงเป็นเรื่องที่ยาก ในเด็กวัยนี้ที่จะบอกว่า เศร้ายังไง หรือพวกเขากำลังมีความเศร้าแบบไหน สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ หรือผู้ดูแลควรสังเกตอาการของลูก
"โรคซึมเศร้า" เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ด้านร่างกาย จิตใจ การเลี้ยงดู ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุก ๆ วัย กลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือเด็กเล็กไปจนถึงวัยรุ่น เพราะในเด็กเล็กยังไม่สามารถบอกได้ว่า ความรู้สึกเศร้าคืออะไร ในเด็ก ป.1 อาจจะแสดงความเศร้าออกมาในรูปของอาการหงุดหงิด นอนมากไป
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จำเป็นมาก ๆ ที่พ่อแม่หรือผู้ดูแลจะสามารถสังเกตอาการของเด็ก ๆ ได้ เช่น
- เด็ก ๆ จะแสดงออกมาในอาการหงุดหงิด แม้เรื่องเล็กน้อย มีอะไรขัดใจก็ทนไม่ไหวความสามารถในการจัดการอารมณ์ลดลง
- มีอาการทางกาย เช่น ปวดท้อง ปวดหัว โดยหาสาเหตุไม่ได้ ก็เป็นไปได้ว่าซึมเศร้าเพียงแค่เขาบอกเราไม่ได้
- การนอนผิดปกติ คือ นอนมากไป หรือนอนน้อยไป จนกระทบกับชีวิตประจำวัน เช่น นอนทั้งวันไม่ยอมไปโรงเรียน
- ทำร้ายร่างกายตัวเอง เช่น หยิกแขนตัวเอง ทุบตีตัวเอง
- การกินผิดปกติ กินมากไป หรือน้อยเกิน จนกระทบต่อน้ำหนักตัว (ข้อควนระวัง - ควรดูช่วงอายุ ความสูง ของเด็กแต่ละวัยว่าอยู่ในเกณฑ์ปกตืหรือไม่ เพราะวัยเด็กเป็นช่วงน้ำหนักไม่คงที่ บางครั้งก็มีภาวะของเด็กที่น้ำหนักลดได้)
- เด็กไม่มีสมาธิจดจ่อ หรือทำได้ยาก เช่น ทำการบ้าน หรือตั้งใจฟังเวลาพูดคุยกับครอบครัว ทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ได้นาน
- พฤติกรรมถดถอย กลับมาฉี่รดที่นอน
- พูดถึงเรื่องการตาย อยากตาย ไม่อยากตื่นมาทำอะไร
แต่พฤติกรรม อารมณ์ จะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ หากเกิดขึ้นแล้ว พ่อแม่ หรือผู้ดูแล ควรดูแลลูกโดยการพาไปหาจิตแพทย์ นักจิตวิทยา โรคซึมเศร้าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เป็นโรคที่รักษาได้ ยิ่งรักษาเร็วแต่เนิ่น ๆ ก็ยิ่งเป็นผลดี เพื่อไม่ให้กระทบการใช้ชีวิตของลูก และเรื่องจิตใจของลูกในระยะยาว