หลาย ๆ ครอบครัว มักมีความคาดหวังว่าเมื่อลูกโตขึ้น อยากจะเป็นคนที่ลูกไว้วางใจ สามารถปรึกษา หรือพูดคุยได้ทุกเรื่อง…. แต่บางครั้งความพยายามของพ่อแม่ที่มากเกินไป ก็ทำให้ลูกเกิดความรู้สึกอึดอัด หรือรู้สึกว่าเราก้าวเข้าไปในพื้นที่ส่วนตัวของเขามากเกินไป สิ่งที่ได้ตอบกลับมาอาจจะมาเป็น ความเงียบ หรือ การปะทะ
มาทำความเข้าใจเหตุผลเหล่านี้กันดีกว่าว่าทำไมเวลาลูกมีปัญหา ลูกถึงไม่ปรึกษาพ่อแม่
พ่อแม่มีคำตำหนิ
พ่อแม่ลองสังเกตตัวเองดูว่าเวลาที่ลูกมาปรึกษาหรือเล่าเรื่องให้ฟัง ยังไม่ทันได้ฟังลูกให้จบ เราก็มักจะมีคำตำหนิ ดุ ด่า สั่งสอน หรือเปล่า?
สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูก “รู้สึกถูกจับผิดอยู่ตลอดเวลา” เป็นเหตุที่ทำให้ลูกไม่อยากเข้ามาคุยกับเรา เพราะคงไม่มีใครอยากเป็นคนที่ถูกจับผิดอยู่ตลอด ลองหักห้ามใจไม่ดุลูกไว้เสียก่อน แล้วช่วยกันหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกันแทน
พ่อแม่เรื่องราวของลูกไปเล่าให้คนอื่น
พ่อแม่มักนำเรื่องราวของลูก หรือเรื่องที่ลูกไว้ใจเล่าให้ฟัง ไปเล่าให้คนอื่นต่อ ทำให้ลูกรู้สึกว่าถูกทำลายความไว้ใจ เพราะขนาดพ่อแม่ที่เขาไว้ใจ ยังเอาเรื่องของเขาไปเล่าต่อให้คนอื่นรับรู้ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นคือนอกจากลูกจะไม่ไว้ใจพ่อแม่แล้ว ยังเป็นผลทำให้ลูกไว้ใจผู้อื่นได้ยากด้วย
พ่อแม่ไม่ "ใส่ใจ" มากพอ
พ่อแม่บางครั้งตั้งใจฟังสิ่งที่ลูกพูดแต่ไม่ได้ “ใส่ใจ” ที่จะฟังสิ่งที่เขาต้องการสื่อจริง ๆ หรือไม่เข้าใจความรู้สึกของเขาเลย ควรปรับมุมมองให้ไปอยู่ในจุดของเขามากกว่าพูดออกไปในมุมมองของพ่อแม่เพียงอย่างเดียว
บางครั้ง….พ่อแม่ อาจจะลองมาสำรวจตัวเองดูว่ามีส่วนมากน้อยแค่ไหน ที่ทำให้ลูกไม่เล่าปัญหา หรือปรึกษา วิธีการที่อยากจะลองมาชวนพ่อแม่ ให้เป็นคนที่พร้อมฟังเมื่อลูกต้องการจะเล่า
- ฟังในสิ่งที่ลูกการอยากจะเล่า แล้วจับประเด็นให้ได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับลูก
- ใส่ใจในความรู้สึกของลูก ว่าเรื่องราวที่เขาเล่ามามีผลกระทบอะไรต่อจิตใจหรือความรู้สึกของลูก
- สนใจความคิดของลูกที่มีต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้น
- เก็บไว้ในใจบ้าง… แม้เรื่องที่ลูกเล่าไม่ตรงใจเรา ไม่ตรงความคิดของเรา
ลองค่อย ๆ ฝึกทำ หมั่นถามลูกว่า “ที่เล่ามา อยากจะให้พ่อแม่ช่วยอะไรไหม หรือว่า พ่อแม่พอจะช่วยอะไรในเรื่องนี้ได้ไหม” เท่านี้ก็จะเริ่มได้ใจลูกแล้ว
หรือลองให้ลูกมาทำ #แบบทดสอบ "GeniusX ALPHA" เพื่อทำให้ครอบครัวเข้าใจลูกมากขึ้น สั่งซื้อ คลิก!