คุณเคยมีอาการเหล่านี้ไหม?
ใจเต้นแรง มือสั่น เหงื่อออก ความคิดในหัวเต็มไปหมดจนไม่รู้จะพูดอะไรดีในช่วงเวลาสำคัญ
“ยอมทำงานอยู่เบื้องหลังยังง่ายกว่า”
หลายคนที่คิดแบบนี้จึงพลาดโอกาสดีๆ ในชีวิตทั้งที่มีไอเดียบรรเจิด เพียงเพราะสอบตกการนำเสนอผลงาน เลยต้องพ่ายให้คนที่มีวาทศิลป์ดีกว่าคว้างานดีๆ ไปครองอย่างน่าเสียดาย
อะไรทำให้เราเป็นแบบนี้?
จากงานศึกษาของ นพ.เอกชัย จุละจาริตต์ พูดถึงการทำงานของสมองที่ส่งผลให้เราเกิดความไม่นิ่ง กลัว หรือ ตื่นเต้นเมื่อต้องพรีเซนต์งานว่าเกี่ยวกับสารเคมีในสมอง (Brain Chemicals) ซึ่งเป็นสารเคมีที่เซลล์ประสาทสร้างขึ้น เพื่อสื่อนำกระแสประสาทจากเซลล์หนึ่งผ่านไปยังอีกเซลล์หนึ่ง เกิดเป็นอารมณ์และความรู้สึกแสดงออกมา เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดที่กระตุ้นให้สมองหลั่งสารออกมา สมองจะสั่งการเพื่อให้ร่างกายมีความรู้สึกตามแบบดังกล่าว เช่น มือสั่น ปากสั่น เสียงแห้ง
“เมื่อวิตกมากเกินไป จะส่งผลอะไรบ้าง?”
ในบางรายที่รุนแรงนั้น อาจพัฒนาเป็นอาการ Panic Disorder หรือ โรคแพนิค ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช โดยจัดเป็นประเภทของโรควิตกกังวล ที่เกิดขึ้นได้แม้อยู่ในที่ที่ไม่มีอันตราย
โดยเมื่อเกิดอาการเช่นนี้ ฮอร์โมนต่างๆ เช่น อะดรีนาลีน จะทำงานพุ่งพล่านไปทั่วร่างกาย ทำให้รูม่านตาเริ่มขยาย เหงื่อออกมากขึ้น หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งอาการเช่นนี้เรียกว่าระยะตอบสนองโดย “สู้” หรือ “หนี”
จะสั่งการ ‘สมอง’ อย่างไร? ให้ไม่พลาดทุกงานพรีเซนท์
อาการตื่นกลัวเหล่านี้จะหมดไปเมื่อเราสร้างความมั่นใจกลับมาได้ เพราะเมื่อมีความมั่นใจ ควบคุมสถานการณ์ได้ สมองจะไม่หลั่งสารที่ทำให้ตื่นตระหนกออกมา แต่จะหลั่งสารที่ช่วยให้มีความภูมิใจและรู้สึกต้องการที่จะนำเสนอสิ่งเหล่านั้นให้เกิดขึ้น เช่น เอ็นโดรฟิน
ดังนั้นการพรีเซนต์งานสามารถผ่านไปได้ด้วยดี และลดอาการตื่นตระหนกลงได้ด้วย 3 วิธีนี้
1. ร่างไอเดียออกมาเป็นโครงร่าง
การลำดับความคิดออกมา ช่วยให้เห็นภาพรวมการนำเสนอทั้งหมดและจัดประเด็นสำคัญที่เราจะนำเสนอได้
2. ทำ Key Highlight เฉพาะจุดสำคัญ
การพรีเซนต์งานที่ดีและน่าฟังไม่จำเป็นต้องใส่เนื้อหาไปทั้งหมดให้ดูเยอะ โดยสามารถใส่เพียง Word Highlight ที่ช่วยเตือนเฉพาะใจความสำคัญได้
3. Pre-Present เพื่อความมั่นใจ
เมื่อทำสไลด์จบแล้ว ลองทิ้งไว้สัก 30 นาที แล้วกลับมาซ้อมดูสักครั้งเพื่อสร้างความมั่นใจ และเป็นการเช็คอีกรอบว่าคุณเล่าได้ครอบคลุม รวมทั้งอาจลองจับเวลาควบคู่ไปด้วย
ทุกปัญหาแก้ได้ด้วยการฝึกฝนทักษะสมองให้เกิดการเรียนรู้ใหม่และฝึกจนเกิดความชำนาญแม้คุณไม่เคยทำสิ่งนั้นมาก่อนก็ตาม
ที่มาข้อมูล : นายแพทย์เอกชัย จุละจาริตต์
เนื้อหาการศึกษาเพิ่มเติมเรื่อง การหลั่งสารเคมีในสมอง หรือ Brain Chemicals และ สารสื่อนำกระแสประสาท (NEURO TRAN)