นอนนั้นสำคัญไฉน

ในปี ค.ศ.1964 มีหนุ่มน้อยวัย 17 ปี ชาวอเมริกัน ชื่อแรนดี้ การ์ดเนอร์ (Randy Gardner) ทำสถิติบันทึกเอาไว้ว่าเป็นคนที่ไม่หลับเลยต่อเนื่องเป็นเวลา 11 วัน จินตนาการว่าขนาดคนธรรมดาอย่างพวกเรานอนไม่หลับเพียงแค่คืนสองคืน ยังตื่นมาแบบไม่สดชื่น แล้วถ้าต้องอดหลับอดยาวนานขนาดนั้นร่างกายจะเป็นอย่างไรกัน…

ในปี ค.ศ.1964 มีหนุ่มน้อยวัย 17 ปี ชาวอเมริกัน ชื่อแรนดี้ การ์ดเนอร์ (Randy Gardner) ทำสถิติบันทึกเอาไว้ว่าเป็นคนที่ไม่หลับเลยต่อเนื่องเป็นเวลา 11 วัน จินตนาการว่าขนาดคนธรรมดาอย่างพวกเรานอนไม่หลับเพียงแค่คืนสองคืน ยังตื่นมาแบบไม่สดชื่น แล้วถ้าต้องอดหลับอดยาวนานขนาดนั้นร่างกายจะเป็นอย่างไรกัน เคยมีการสำรวจว่าในชั่วชีวิตของคนเรานั้น เราใช้เวลาในการนอนมากถึง 1 ใน 3 ส่วนของอายุขัยเลยทีเดียว ทำไมธรรมชาติจึงสร้างให้เราอุทิศเวลากับการนอนมากถึงเพียงนี้ หรือแท้ที่จริงแล้วการนอนมีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากกว่าที่เรารู้

การนอนหลับเป็นกลไกสร้างความปลอดภัยให้กับร่างกาย โดยในแต่ละวันร่างกายต้องการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้กลับมาใช้งานได้ดีเช่นเดิม ในกระบวนการซ่อมแซมนั้นต้องใช้พลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ในช่วงเวลาปกติร่างกายใช้พลังงานในส่วนต่างๆ ค่อนข้างสูง ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะต่อการซ่อมแซมจึงควรเป็นช่วงที่ร่างกายใช้พลังงานน้อย ในตอนที่เราหลับอย่างน้อยร่างกายก็ไม่เคลื่อนไหว ตาที่ทำหน้าที่รับภาพเข้าสู่สมองก็ปิดการทำงานลง นอกจากนี้ในการนอนนั้นยังเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานของสมองอีกด้วย โดยในการหลับช่วง NON REM สมองส่วน Cerebral Cortex และ Thalamus ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับความทรงจำกำลังทำงานอยู่ ข้อมูลที่เรารับมาทั้งหมดในแต่ละวันจะถูกคัดเลือกว่าส่วนไหนคือข้อมูลที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต หากจำเป็นก็จะถูกเก็บไว้ในสมอง แต่หากไม่มีความจำเป็นก็จะถูกลบทิ้งไป อาจมีข้อมูลบางส่วนที่ยังไม่แน่ใจก็จะถูกพักรอไว้ก่อน นอกจากนี้สารเคมีต่างๆ ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาท เช่น ฮิสตามีน โดปามีน นอร์เอพิเนฟริน เป็นต้น ซึ่งระบบภายในร่างกายและชีวภาพเหล่านี้เป็นกลไกที่ทำให้เรานอนหลับได้ดียิ่งขึ้น การหลับมีวงจรที่สามารถแบ่งออกได้เป็นช่วงๆ ประมาณ 3 ช่วง แต่ละช่วงจะส่งผลให้เกิดประโยชน์กับร่างกายที่แตกต่างกันไป หากเล่าให้เข้าใจแบบง่ายๆ ประกอบด้วย ช่วงหลับตื้น หลับลึก หลับฝัน เมื่อครบลำดับตามนี้ก็จะเข้าสู่รอบใหม่วนเป็นวงจรไปเรี่อยๆ 

การนอนหลับหากเรานอนไม่ครบทั้ง 3 ช่วง จะต้องเริ่มนับวงจรใหม่ และย่อมหมายถึงกระบวนการซ่อมแซมร่างกายและกระบวนการจัดการสมองไม่สมบูรณ์ หลายคนที่นอนแต่ตื่นมาแล้วกลับรู้สึกไม่สดชื่น หงุดหงิด หรือยังมีอาการง่วงอยู่ นั่นก็อาจเป็นเพราะเราหลับไม่ครบวงจรนั่นเอง อาจเกิดจากในระหว่างการหลับมีเสียงที่ทำให้เราตื่น การกรนที่ทำให้เราขาดออกซิเจน แสงสว่าง หรือการฝัน ซึ่งก็จะทำเมื่อตื่นมาสมองเราทำงานหนักขึ้นอีกเป็นเท่าตัว และเมื่อสมองเป็นส่วนที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย การนอนน้อยหรือนอนไม่หลับจึงส่งผลต่อร่างกายตามไปด้วย 

    คงเห็นแล้วว่าการนอนนั้นเกี่ยวข้องกับสมองและมีความสำคัญเพียงใด เราจึงควรหันมาใส่ใจกับการนอนให้มีคุณภาพ ร่างกายต้องการพักผ่อน ราวๆ 6 - 8 ชั่วโมง อยู่ในสถานที่อากาศปลอดโปร่ง มีแสงสว่างพอเหมาะ ไม่มีเสียงรบกวน งดการกินหรือดื่มก่อนนอน 4 - 6 โมง สื่ออิเลคทรอนิกก่อนนอน ตบท้ายด้วยน้ำอุ่นๆ ก่อนนอน เพียงเท่านี้ก็เป็นการรักษาร่างกายและสมองให้อยู่กับเราไปนานๆ 

 

ที่มาข้อมูล: บทความ Sleep deprivation, psychosis and mental efficiency, March.1998

บทความ How long can humans stay awake, 25/03/2002.