ทุกข์สุขอยู่ในตัวเรา

หลายครั้งที่เราต้องเผชิญความทุกข์ ความเศร้า น้ำตา จากเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในช่วงชีวิต เมื่อเหตุการณ์เหล่านั้นผ่านพ้นไป หลงเหลืออนุสรณ์ไว้เป็นความทรงจำ แม้จะมีเรื่องราวดีดีอยู่บ้าง แต่ก็น่าแปลกใจที่สมองของเรามักจะเลือกจดจำเรื่องราวร้ายๆ ที่ทำให้เราเจ็บปวดได้มากกว่าเรื่องราวดีๆ…

หลายครั้งที่เราต้องเผชิญความทุกข์ ความเศร้า น้ำตา จากเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในช่วงชีวิต เมื่อเหตุการณ์เหล่านั้นผ่านพ้นไป หลงเหลืออนุสรณ์ไว้เป็นความทรงจำ แม้จะมีเรื่องราวดีดีอยู่บ้าง แต่ก็น่าแปลกใจที่สมองของเรามักจะเลือกจดจำเรื่องราวร้ายๆ ที่ทำให้เราเจ็บปวดได้มากกว่าเรื่องราวดีๆ อยู่เสมอ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แล้วเราจะสามารถลบเรื่องร้ายๆ ออกจากสมองเราไปได้หรือไม่ เปิดสมองและหัวใจกว้างๆ ไว้ แล้วมาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน

ในความเป็นจริงแล้วหน้าที่หลักของสมองนอกจากการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายแล้ว สมองยังมีหน้าที่สำคัญ คือ การคอยดูแลปกป้องตัวเราจากอะไรหรือสิ่งใดที่ทำให้เราเจ็บปวดทั้งร่างกายและความรู้สึก สมองแค่จะพยายามย้ำเตือนว่าสิ่งนี้เป็นอันตรายนะจ๊ะ ไม่ควรเข้าไปยุ่ง เดี๋ยวเธอจะเจ็บอีกนะ ลองนึกภาพวัยเด็กที่เราเอามือไปแหย่ปลั๊กไฟ หรือไปเล่นกับหมาแล้วโดนกัดก็ได้ เพราะถ้าหากสมองไม่คอยย้ำเตือนพอผ่านระยะเวลาไป เราอาจจะเผลอลืมจนกลับไปทำอะไรที่อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตซ้ำได้ นั่นเป็นหน้าที่ของสมองส่วนที่มีชื่อว่าซีรีเบลลัม (Cerebellum) ซึ่งอยู่บริเวณสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และความทรงจำ นอกจากจะทำหน้าที่บันทึกและจดจำแล้ว สมองส่วนนี้ยังทำหน้าที่จะคอยสะกิดเตือนใจให้เราหวนกลับไปคิดถึงอดีตอันเจ็บปวดอีกครั้ง โดยจะดึงเอาอารมณ์และความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เวลาที่เราหวนนึกถึงเหตุการณ์เหล่านั้นเราจึงเกิดความรู้สึกแย่เหมือนดั่งในช่วงเวลานั้นอีกครั้ง ดังนั้นหากมองแบบใจเป็นกลางแล้วเหตุที่ซีรีเบลลัมต้องคอยจดจำความทุกข์หรือเรื่องราวแย่ๆ นั้นเป็นเรื่องสำคัญ จนเคยมีคำกล่าวว่าสำหรับสมองแล้วความทุกข์จำเป็น ความสุขฟุ่มเฟือย เพราะธรรมชาติของสมองลึกๆ แล้วมีหน้าที่สำคัญเพียงอย่างเดียว ก็คือทำให้เรามีชีวิตอยู่รอดเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความทุกข์หรือเรื่องเลวร้ายจะจำเป็นกับชีวิตเราขนาดไหนแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องจมอยู่ทนอยู่กับสิ่งเหล่านั้นตลอดกาลเพราะเมื่อเวลาผ่านไป ความทรงจำที่แย่ๆ เหล่านั้นจะค่อยๆ จางหายไปตามธรรมชาติ เราสามารถที่จะเร่งขั้นตอนได้ด้วยการใช้ชีวิตอย่างเต็มที่และสร้างความทรงจำดีๆ ขึ้นมาใหม่เพื่อเติมทดแทนลงบนจิตใจ ลองใช้เวลาทำสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกเพลิดเพลิน มีความสุข ยิ่งเราสามารถสร้างความทรงจำที่เป็นด้านบวกมากเท่าไร ความสำคัญของความทรงจำที่เป็นลบจะลดลงไปในระยะยาวเร็วมากขึ้นเท่านั้น เก็บความทรงจำร้ายๆ ไว้เป็นประสบการณ์สอนตัวเองแต่ไม่ไปยึดติด ลองหาอะไรทำแปลกๆ ทำความรู้จักกลุ่มคนใหม่ๆ ทำอะไรไม่ไม่ค่อยถนัดหรือเคยชิน จะทำให้เราได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ขึ้นมาโดยไม่โดนรบกวนจากอดีต 

ทุกข์กับสุขนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน สมองยังคงต้องทำหน้าที่ตามสัญชาตญาณของมันเอง ตัวเราก็เช่นกัน ต้องฝึกแข็มแข็งและก้าวข้ามผ่านบางเหตุการณ์ไปให้ได้ เมื่อสมองพยายามที่จะให้เราอยู่รอด เราเองต้องฝึกเรียนรู้ที่จะมีชีวิตรอดต่อไปอย่างมีความสุขให้ได้เช่นกัน

 

 

ที่มาข้อมูล: 

บทความ: ความทรงจำกับสมอง จากหนังสือ The manager หัวเรื่อง mother and care ปี 2015

เวปไซต์ http:// clbb.mgh.harvard.edu/study-finds memories can change with each recall.